ปัจจัยในการเลือกใช้วิธีการวิจัย (Research Methodology) อย่างเหมาะสม

clock
11 April 2022

หากเริ่มต้นจากคำถามว่า อะไรคือองค์ประกอบในการทำวิจัยที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการสูงสุดในการออกแบบ User Experience (UX) และ User Interface (UI) หนึ่งในปัจจัยสำคัญของคำตอบดังกล่าวคือ วิธีการวิจัย หรือ Research Methodology เนื่องจากการเลือกประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยอย่างเหมาะสมจะส่งผลให้ได้รับผลลัพธ์การวิจัยที่เที่ยงตรงและมีคุณประโยชน์ต่อการทำงาน UX/UI แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า วิธีการวิจัยด้าน UX/UI นั้นมีวิธีการวิจัยที่หลากหลายในหลายๆสถานการณ์และบริบทต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคำถามสำคัญขึ้นว่า อะไรคือปัจจัยในการเลือกวิธีการวิจัยที่ดีในการทำงานด้าน UX/UI โดยในบทความนี้จะวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเพื่อใช้สำหรับการเลือกใช้วิธีการวิจัยอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้คุณประโยชน์สูงสุดต่อการทำงาน

วิธีการวิจัย (Research Methodology) คือ รูปแบบหรือขั้นตอนที่ใช้สำหรับการวิจัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์มาซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อการทำงาน โดยในปัจจุบันการทำงานด้าน UX/UI มีรูปแบบการวิจัยที่หลากหลายเป็นอย่างมากในหลายๆบริบท ตัวอย่างเช่น System Usability Scale (SUS) Customer Effort Score (CES) หรือ Think Aloud วิธีการที่ระบุเหล่านี้ต่างล้วนใช้ในการทำวิจัยด้านความยากง่ายในการใช้งาน (Usability Testing) แต่จะทราบได้อย่างไรว่าวิธีใดคือวิธีที่เหมาะสมกับการทำวิจัยที่กำลังจะดำเนินการอยู่ หากวิเคราะห์โดยพื้นฐาน ปัจจัยเบื้องต้นดังกล่าวประกอบไปด้วยดังนี้

  1. คุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัย (Persona of Participant)
  2. สถานะ ความคืบหน้า และ บริบท (Status, Progress and Context)
  3. เป้าหมาย และกลยุทธ์ (Goal and Strategy)
  4. ทรัพยากร (Resource)

ปัจจัยด้าน คุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัย (Persona of Participant)

คุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัย หรือ Persona of Participant คือองค์ประกอบที่อธิบายและบ่งบอกถึงข้อมูลพื้นฐาน บุคคลิก ภาพลักษณ์ ฯลฯ ของบุคคลที่มาเข้าร่วมวิจัย ข้อมูลด้านคุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัยแสดงถึงความสำคัญต่อการเลือกวิธีการวิจัยด้าน UX/UI เป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ อาทิ ความสามารถในการใช้งานหรือปฎิสัมพันธ์ ความเข้าใจ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น จากงานวิจัยหนึ่งหากต้องการทำการวิจัยด้านความยากง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) กับผู้สูงอายุ การเลือกใช้วิธีการวิจัยบางวิธี เช่น Diary Study อาจจะไม่เหมาะสมกับกลุ่มดังกล่าวเนื่องยากตัววิธีการวิจัยเองมีความซับซ้อนในความเข้าใจ หรือการเลือกใช้ Think Aloud กับผู้พิการทางการได้ยิน

นอกจากการส่งผลต่อวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัย ในเวลาเดียวกันปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัยยังส่งผลถึงวิธีการวิจัยด้านการเลือกพัฒนาแบบจำลอง (Prototype) เนื่องจาก ระดับความคล้ายคลึงของแบบจำลอง (Level of Fidelity of Prototype) สามารถส่งผลต่อความเข้าใจและการใช้งานเป็นอย่างสูง หากเลือกระดับความคล้ายคลึงของแบบจำลองอย่างไม่เหมาะสมกับคุณลักษณะผู้เข้าร่วามวิจัยอาจจะส่งผลให้ยากต่อความเข้าใจในการใช้งาน อาทิ การเลือก แบบจำลองระดับความคล้ายคลึงต่ำ (Low-Fidelity Prototype) มาเป็นตัวกลางในการใช้งานสำหรับงานวิจัยกับกลุ่มคนที่ไม่เชี่ยวชาญหรือไม่ถนัดด้านการใช้งานเทคโนโลยี (Novice User หรือ Non-Tech Savvy User) ดังนี้แล้วปัจจัยด้านคุณลัพกษณะผู้เข้าร่วมวิจัยจึงเป็นหนึ่งในปัจจจัยสำคัญทีควรคำนึงถึงในการเลือกใช้วิธีการวิจัยเพื่อให้ได้ผลัพพธ์ที่เที่ยงตรงและมีคุณประโยชน์สูงสุด

ปัจจัยด้าน สถานะ ความคืบหน้า และบริบท (Status, Progress and Context)

หลายครั้งในการเลือกวิธีการทำวิจัยด้าน UX/UI มักจะลืมคำนึงถึงปัจจัยด้าน สถานะ ความคืบหน้าและบริบทของโครงการ (Project) ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อการเลือกวิธีการวิจัย เพราะสาเหตุที่ว่า วิธีการวิจัยในรูปแบบวิธีการต่างๆ ส่งผลต่อระยะเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีสถานะของโครงการมีทรัพยากรเวลาไม่มากในการทำวิจัย การเลือกใช้วิธีการที่ใช้ทรัพยากรเวลาสูง อาทิ Diary Study Ethnographic Study ฯลฯ อาจจะเป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะสมในกรณีดังกล่าว หรือในอีกตัวอย่างหนึ่งคือ หากการวิจัยดังกล่าวมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อหาความต้องการของผู้ใช้มาแล้วครั้งหนึ่งผ่านการสัมภาษณ์ที่จำนวน 5 คน หลังจากที่ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ จึงเกิดคำถามสำคัญขึ้นในลำดับถัดมาว่า ข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์จากจำนวน 5 คน สามารถน่าเชือถือได้มากน้อยเพียงใด หากวิเคราะห์จากสถานการณ์ในตัวอย่าง ณ ขณะนี้จะสังเกตุเห็นได้ว่า สถานะ ความคืบหน้า และบริบทได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้หากต้องการทำวิจัยต่อ วิธีการวิจัยควรเป็นวิธีเพื่อที่จะสามารถยืนยันข้อมูลที่ได้รับจากจำนวนผู้เข้าร่วมทั้ง 5 คนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีความเที่ยงตรงต่อจำนวนขนาดประชากรที่สูงขึ้น ด้วยสาเหตุนี้ปัจจัยด้าน สถานะ ความคืบหน้า และบริบทจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเลือกวิธีการวิธีการวิจัย

ปัจจัยด้าน เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goal and Strategy)

ในการทำงานด้าน UX/UI ผู้ใช้ หรือ User นับเป็นหัวใจหลักของการทำงาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามนั้นก็ไม่อาจจะที่ละเลยเป้าหมายหรือกลุยทธทางด้าน UX/UI และ ธุรกิจ ที่กำหนดไว้ได้ ดังนี้วิธีการวิจัยที่คาดหวังจะปฎิบัติขึ้นควรสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ที่วางไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่มีคุณประโยชน์สูงสุดที่จะสร้างสรรค์งานที่สอดคล้องกับเป้าหมายทั้งในด้าน UX/UI และ ธุรกิจ

จากกรณีศึกษาที่หนึ่ง หากธุรกิจของบริษัทที่ปรึกษาหนึ่งต้องการที่พัฒนาระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการด้านบัญชีขึ้นเพื่อทดแทนระบบเก่าภายในองค์กร ดังนี้แล้วในช่วงแรกหากต้องการเริ่มต้นทำการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบระบบดังกล่าวควรใช้วิธีการวิจัยเบื้องต้นเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึกในด้านต่างๆ อาทิ มุมมองการทำงาน บริบทการทำงาน Mental Model ฯลฯ จากการได้ข้อมูลผลลัพธ์พื้นฐานจะสามรถช่วยให้สามารถออกแบบระบบ หลังจากที่ออกแบบเสร็จสิ้นและนำไปใช้งานในบริษัท ทางทีมงานมีความประสงค์ต้องการพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อให้รองรับกับกรณีต่างๆทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เป้าหมายและกลยุทธ์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจากในสถานการณ์นี้วิธีการวิจัยควรสอดคล้องกับปัจจัยด้านเป้าหมายและกลยุทธ์ดังกล่าว อาทิ การวิจัยศึกษาการใช้งานผ่านข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ของการใช้งานระบบ การวิจัยศึกษาด้านสถาปัตยกรรมข้อมูลด้านอนุกรมวิธาน (Information Architect: Taxonomy) ฯลฯ จากข้อมูลและตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าวิธีการวิจัยควรสอดคล้องกับปัจจัยด้านเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อสร้างคุณประโยชน์สูงสุด

ปัจจัยด้าน ทรัพยากร (Resource)

ทรัพยากร คือหัวใจหลักของการทำวิจัย ในทุกๆการทำวิจัยทรัพยากรเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยกรคน เวลา และเงิน ด้วยเหตุนี้จากที่ทราบกันมาโดยทั่วกันว่าวิธีการวิจัยแต่ละวิธีจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรที่จำนวนแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น วิธีการวิจัยด้วย Diary Study หรือ Ethnographic Study สองวิธีดังกล่าวที่ระบุจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเป็นอย่างมากในการทำวิจัย แต่กลับใช้เวลาด้านทรัยากรคนไม่สูงมาก หรือในอีกตัวอย่างหนึ่งหากต้องการวิจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) บนโลก Metaverse โดยมีวัตถุประสงค์ว่าการปฏิสัมพันธ์บนโลก Metaverse ดังกล่าวสอดคล้องกับ Mental Model ของผู้ใช้หรือไม่ จากเป้าหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แบบจำลอง (Prototype) เพื่อนำเสนอโลก Metaverse และอุปกรณ์ควบคุม (Controller) เพื่อปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆบนโลก Metaverse นับเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก หากวิเคราะห์ด้านทรัพยากรโดยพื้นฐานจะเห็นได้วิธีการวิธีการวิจัยด้านการปฎิสัมพันธ์ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากในทุกๆด้าน อาทิ คน เวลา และเงิน ดังนี้หามีข้อจำกัดใดจากปัจจัยด้านทรัพยากรจะส่งผลให้วิธีการวิจัยดังกล่าวอาจจะเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น อาจจะเปลี่ยนจากแบบจำลองระดับความคล้ายคลึงสูง (High-Fidelity Prototype) ไปเป็น แบบจำลองระดับความคล้ายคลึงต่ำแทน (Low-Fidelity Prototype) เพื่อให้สอดคล้องกับทรัพยากรด้านต่างๆในการทำงาน

บทส่งท้าย

ในบทความนี้ได้วิเคราะห์ถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยอย่างเหมาะสมที่จะสามารถสร้างคุณประโยชน์สูงสุดต่อการออกแบบ UX/UI และ ธุรกิจได้ โดยการเลือกวิธีการวิจัยที่ดีนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยพื้นฐานทั้ง 4 ปัจจัย ดังนี้ 1.คุณลักษณะผู้เข้าร่วมวิจัย (Persona of Participant) 2.สถานะ ความคืบหน้า และบริบท (Status, Progress and Context) 3.เป้าหมาย และกลยุทธ์ (Goal and Strategy) 4.ทรัพยากร (Resource) อย่างไรก็ตามทั้ง 4 ปัจจัยเป็นเพียงแค่มุมมองพื้นฐานต่อการวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการวิจัยเท่านั้น โดยหากในเป้าหมายทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจะส่งผลให้มีปัจจัยต่างๆที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาได้



ติดตามบทความเกี่ยวกับการวิจัยและออกแบบได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/unblockdesign
Instagram : https://www.instagram.com/unblockdesign

Tags:#User Experience #UX Research

Author
Writer: Unblock Design

ทีมออกแบบของ Blockfint ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย วางแผน และออกแบบ Digital Products


Interested to be our partner?
Mailbox