Climate Fintech : เทคโนโลยีทางการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม

clock
25 November 2021

Climate Fintech เป็นการนำ Fintech เข้ามาช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่าง ๆ ของ มนุษย์ผ่านการทำให้กิจกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว มีผลกับ Climate Change น้อยลง เช่น Digital Banking และ Digital Point-of- Sale ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถทำรายการต่าง ๆ ได้โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง นำไปสู่การลด Carbon Footprint ได้ การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ เช่น การลงทุนที่มุ่งเน้นการ สนับสนุนธุรกิจที่มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก การตัดไม้ทำลายป่า การใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิล และอื่น ๆ หรือ การนำ Blockchain มาสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขาย Carbon Credit ที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและเข้าถึง ผู้คนได้มากขึ้น

Carbon Credit สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถซื้อขายกันได้เหมือนเป็นสินค้า ซึ่งเครดิตนี้จะได้มา เมื่อผู้ขายสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตัวเองลดการผลิตคาร์บอนออกสู่อากาศเป็นปริมาณเท่าไหร่ โดยผู้ขายจะนำเงิน ไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ดังนั้น ก่อนเข้าร่วมโครงการ ผู้ขายจะต้อง ตรวจสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจก และตรวจสอบอีกครั้งเมื่อมีการขอ carbon credit certificate เมื่อได้ carbon credit certificate แล้วจึงจะนำไปขายได้ การปลูกต้นไม้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้าง carbon credit โดยบริษัทต่าง ๆ จะซื้อเครดิตนี้ เพื่อหักล้างกับมลพิษที่ปลดปล่อยออกมา เพื่อลด Carbon Footprint ของตน เอง และขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนการลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ไปด้วยใน ตัวทำให้โดยรวมมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิสู่ชั้นบรรยากาศโลกน้อยลง

ในทางปฏิบัติ Climate Fintech ทำให้ทุกคนสามารถอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น ชัดเจน และจับต้องได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีการใช้งานจริงแล้วอย่างหลากหลาย เช่น จากเดิมเราอาจจะพยายาม ช่วยโลกโดยการลดการใช้พลาสติก ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่าจะสร้างความแตกต่างได้มากแค่ไหน แต่ด้วย Fintech การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเราจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น วัดผลได้มากขึ้น ในรูปแบบของการซื้อ Renewable Energy Certificate (REC) หรือ Carbon credit บนแพลตฟอร์ม Blockchain ที่ใช้งานง่ายอย่าง Gideon ที่จะ สามารถตรวจสอบได้เลยว่า เราผลิตพลังงานสะอาดมาทดแทน Carbon emission ไปแล้วเท่าไหร่ โดยปัจจุบัน มีกว่า 500 บริษัท/องค์กร ในกลุ่มคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ที่จะได้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ ในการซื้อขายแลก เปลี่ยน Carbon credit กันโดยตรง จึงทำให้การซื้อขายเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งสำหรับแพลตฟอร์ม Gideon เองนั้น ได้ถูกพัฒนาโดย Blockfint ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้าง “Thailand Carbon Credit Exchange Platform” เป็นแพลตฟอร์มหลักของประเทศไทย สำหรับการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานประเทศไทย

อีกตัวอย่างที่ดีของ Climate Fintech คือ Atmos Financial ธนาคารที่ทำให้การทำรายการธรรมดา ๆ อย่างการ ฝากเงิน กลายเป็นการลด Climate Change ได้ โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารนี้ คือบัญชีเงิน ฝาก
ที่นอกจากจะให้ดอกเบี้ยในเรทที่สูงและไม่มีค่าธรรมเนียมแล้ว เงินฝากของเราจะถูกรวบรวม แล้วนำไป ปล่อยกู้ให้กับโครงการที่เป็นผลดีจริง ๆ กับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น โดยเราสามารถตรวจสอบเส้นทางของเงินเราว่า เข้าไปมีส่วนช่วยลด
Carbon Footprint และสนับสนุนโลกที่สะอาดขึ้นได้อย่างไรอีกด้วย

บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน Payment ชั้นนำอย่าง Stripe ก็นำแนวคิดของ Climate Fintech เข้ามาใช้กับบริการที่มี อยู่ในปัจจุบัน มาสร้างเป็น Stripe Climate เครื่องมือที่สามารถให้ผู้ประกอบการออนไลน์ที่ใช้ Stripe เลือกแบ่ง รายได้บางส่วนเพื่อสมทบกองทุน Carbon Removal ที่จะถูกนำไปสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยลดปริมาณ Carbon Emission ได้ โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับคือ Stripe จะแสดงข้อมูลในหน้าชำระเงินของร้านออน ไลน์นั้น ๆ ว่ายอดซื้อของลูกค้ากำลังถูกนำไปช่วยลดแก๊ส CO2 จากชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจนำไปสู่ประสบการณ์ ที่ดีขึ้นของลูกค้าหรือยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมี Climate Fintech ที่ดีแค่ไหน มาจูงใจคนอย่างไร มันไม่สามารถทำให้คนที่ผลิต คาร์บอนออกสู่อากาศ จ่ายเงินชดเชยได้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมจริงแน่นอน

แต่ถ้าเราขาดความรู้สึกที่ต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า Climate Change สามารถ
คร่าชีวิตผู้คนและสร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจได้ยิ่งกว่าโควิดหรือ วิกฤติครั้งไหน ๆ ขาดจิตสำนึกว่า โลกใบนี้เป็น
ของเราทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแล เทคโนโลยีต่าง ๆ ก็คงเป็นได้แค่การแก้ปัญหาปลายเหตุ ที่บางทีอาจจะสาย เกินไป

เกี่ยวกับบล็อคฟินท์​: บล็อคฟินท์ (Blockfint) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Fintech และ Blockchain เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลได้ Blockfint ให้ความสำคัญกับการสรรค์สร้างนวัตกรรมสู่อนาคตผ่านโซลูชันต่าง ๆ เช่น Thinker ซีรีย์ของโซลูชัน Blockchain ที่เข้ามาตอบ โจทย์ทุกความต้องการของสถาบันการเงิน Gideon แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้

เกี่ยวกับผู้เขียน: สุทธิพงศ์ กนกากร (นิค) ทำงานร่วมกับสตาร์ตอัพใหม่หลายแห่งใน Silicon Valley มานานกว่า 20 ปี จนถึงปี 2017 บริษัทที่ร่วมงานด้วยได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งรวม Nutanix (เป็นพนักงานคนที่ 6) และ Andiamo (ที่ Cisco เข้าซื้อกิจการ) ได้นำความเชี่ยวชาญด้านระบบและวัฒนธรรมการทำงานของ Silicon Valley มาปรับใช้ใน Blockfint

นิสิตา ศิรธรานนท์ (มิ้งค์) เป็นผู้บริหารด้านการตลาด ในบริษัทชื่อดังหลาย แห่งในหลายอุตสาหกรรม มีความเข้าใจเชิงลึกในเทคโนโลยี ธุรกิจและลูกค้าที่หลากหลาย ด้วยประสบการณ์ 15 ปีในระดับผู้จัดการและผู้บริหาร

Tags:#การเงิน #Fintech #ClimateFintech


Interested to be our partner?
Mailbox