Cloud 101 และประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้ง

clock
22 February 2022
ภาพจาก : microsoft

ในหลายๆองค์กรที่ยังใช้งาน IT Infrastructure บน On–Premise โดยระบบจะตั้งอยู่ในสถานที่ของเจ้าของระบบที่จะต้องวุ่นวายกับการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษา อัปเดตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, สถานที่, ระบบน้ำ-ไฟฟ้า, ระบบควบคุมอากาศ อาจจะยังสงสัยและลังเลกับการหันไปใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing) แต่ก็อดอยากรู้ไม่ได้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการหันมาใช้คลาวด์คอมพิวติ้งจะตอบโจทย์องค์กรของเราหรือไม่ วันนี้เรามาเรียนรู้ประโยชน์ของการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้งไปพร้อมๆกัน

คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing) คืออะไร?

คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing) คือ การให้บริการหน่วยประมวลผลซึ่งหมายความรวมถึง เซิร์ฟเวอร์(servers), ที่เก็บข้อมูล(Storage), ฐานข้อมูล(database), เครือข่าย(networking), ซอฟต์แวร์(software), การวิเคราะห์ข้อมูล(analytics), และ การประมวลผลอัจฉริยะ(intelligence) ผ่านอินเทอร์เน็ต("The cloud") เพื่อนำเสนอนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วเพิ่มลดทรัพยากรได้อย่างคล่องตัวโดย จ่ายเฉพาะทีใช้งาน(Pay As You Go)และลดต้นทุนการดำเนินงาน(Operation cost) ทำให้ต้นทุนที่ถูกลง, ใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้และสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing)

คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing) ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับทรัพยากรทางด้าน IT เรามาดูกันว่าการหันมาใช้คลาวด์คอมพิวติ้งนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

  • ค่าใช้จ่าย(Cost)
    ค่าใช้จ่ายที่ลดลงจาก ค่าใช้จ่ายในการลงทุน(CapEx:Capital expenditures) เราไม่ต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รวมถึงสถานที่ติดตั้งซึ่งเราเรียกว่า ศูนย์ข้อมูล(Datacenter) ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาเป็นค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน(Opex:operating expenses) เช่น ค่าน้ำ,ค่าไฟ และเงินเดือนวิศวกรผู้ดูแลศูนย์ข้อมูลและอื่นๆ อีกมากมาย
  • ความรวดเร็ว(Speed)
    การสร้างทรัพยากร(Resorce)บนคลาวด์คอมพิวติ้ง นั้นสามารถสร้างได้รวดเร็วตามความต้องการและสามารถสร้างได้จำนวนมากโดยใช้เวลาเพียงไม้กี่นาที ใช้เมาส์คลิกเพียงไม่กี่ครั้งก็ได้แล้วซึ่งความยืดหยุ่นเหล่านี้เองทำให้ไม่ต้องมากังวลเรื่องการวางแผนทรัพยากรที่จะมารองรับลักษณะงานที่ต้องการ(Capacity planing)
  • ปรับขนาด(Scale)
    ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นและเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ เช่น การปรับขนาดหน่วยประมวลผล(CPU/GPU), ที่เก็บข้อมูล(Storage), ขนาดการรับส่งข้อมูล(bandwidth) ได้ตามต้องการและตั้งอยู่บนภูมิภาคและศูนย์ข้อมูลที่เหมาะสม
  • ผลิตภาพในการทำงานที่ดีขึ้น(Productivity)
    ผลจากการหันมาใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้ลดทั้งงานและเวลาที่จะต้องไปดูแลในหลายๆส่วนเช่น ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รวมถึงสถานที่ติดตั้งซึ่งเราเรียกว่า ศูนย์ข้อมูล(Datacenter) ทำให้พนักงาน IT ใช้เวลาไปทำในส่วนที่สำคัญเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจได้มากขึ้น
  • ประสิทธิภาพ(Performance)
    โดยทั่วไปแล้วบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud computing)ที่ทำงานบนเคลือข่ายที่ปลอดภัยของแต่ละศูนย์ข้อมูล(Datacenter) จะมีการอัพเกรดฮาร์ดแวร์รุ่นล่าสุดเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดอยู่เสมอซึ่งได้เปรียบเมื่อเทียบกับองค์กรที่ทำศูนย์ข้อมูล(Datacenter)เป็นของตัวเอง หมายรวมถึงลด network latency สำหรับ application จนทำให้เกิดข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน(economies of scale)
  • ความน่าเชื่อถือในการใช้งาน(Reliability)
    บนคลาวด์คอมพิวติ้ง เราสามารถสำรองข้อมูล(Backup), กู้คืนระบบ(disaster recovery), ดำเนินความต่อเนื่องทางธุรกิจ(business continuity) ได้อย่างง่ายดายและในราคาที่ไม่แพงเนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนคลาวด์สามารถทำสำเนา(mirror)ให้ไปอยู่ที่อีก Datacenter เพื่อสำรองข้อมูล(redundant sites) โดยใช้ network ของผู้ให้บริการคลาวด์(Cloud provider's network) ได้
  • ความปลอดภัย(Security)
    ในหลายๆผู้ให้บริการทางด้านคลาวด์(Cloud provider) นั้นจะมีมาตรการทางด้านความปลอดภัยโดยรวมซึ่งจะช่วยให้ ปกป้องข้อมูลของคุณ, แอพพลิเคชั่น(Application)และโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure) จากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นได้

โปรดติดตามบทความ Cloud 101 ที่น่าสนใจในลำดับถัดไป เช่น ประเภทของคลาวด์(Types of cloud computing)และรูปแบบการให้บริการคลาวด์(Cloud service models) จากเราได้ใหม่ในโอกาสหน้า


อ้างอิง:
https://azure.microsoft.com/en-us/overview/what-is-cloud-computing

Tags:#cloud

Author
Writer: DevOps Team

ทีม DevOps ของ Blockfint ที่มีความเชี่ยวชาญ Cloud Native Services & Solutions


Interested to be our partner?
Mailbox