Stakeholder Analysis คืออะไร และทำอย่างไร?

clock
01 August 2022

Stakeholder Analysis คืออะไร

Stakeholder Analysis คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถวางแผน ประเมิน ทำความเข้าใจ และจัดระดับความสำคัญในมุมมองของ Stakeholder ผ่านมิติที่เราสนใจอย่างเป็นระบบ การจัดการ Stakeholder เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการดำเนิน Project ให้เสร็จตรงเวลาและเป็นไปตามความคาดหวัง

Stakeholder Analysis สำคัญในด้านใดบ้าง

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ไม่เพียงแต่จะเข้าใจผลประโยชน์ แต่ยังรวมถึงการเข้าใจผลกระทบหากไม่บรรลุความต้องการ

  • Project Management → รู้ว่าเราต้องวางแผนบริหารจัดการและวิเคราะห์ปัจจัยเรื่องอะไรบ้าง
  • Risk Management → รู้ว่าเราต้องประเมินความเสี่ยงอะไรบ้าง
  • Product Research, Design and Development → เก็บข้อมูลอะไร กับใคร
  • Resources Allocation & Management → รู้ว่าต้องวางแผนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไร
  • Project Execution → สามารถวางรูปแบบหรือกลยุทธ์ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
  • Requirement Gathering → เลือกวิธีการเก็บรวบรวมความต้องการของลูกค้าก่อนเริ่ม project

ขั้นตอนการทำ Stakeholder Analysis

Stakeholder Analysis จะให้ผลดีที่สุดเมื่อทำเสร็จตอนก่อนเริ่ม Project หรือในช่วงเริ่มแรก เนื่องจาก

1. ระบุ Stakeholder ทั้งหมดใน Project

ระบุว่าใครเป็น Internal และ External Stakeholder ในการระบุว่าใครเป็น Stakeholder นั้น คนหรือกลุ่มคนนั้นต้องมีผลประโยชน์ หรือมีอิทธิพลที่สามารถส่งผลกระทบต่อ Project การระบุจะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการ และความคาดหวังอย่างแท้จริง

เราสามารถใช้ Stakeholder Context Diagram ช่วยในการระบุ stakeholder ทั้งหมด

2. ประเมิน และจัดกลุ่ม Stakeholder

เมื่อเราระบุ Stakeholder ทั้งหมดออกมาแล้ว เราสามารถนำ Stakeholder เหล่านั้นมาประเมิน และจัดกลุ่มในมิติ หรือเรื่องที่เราสนใจ ประกอบไปด้วย Impact, Importance, Interest และ Power

ในขั้นตอนนี้เราสามารถนำ Quadrant Metric มาช่วยในการประเมิน โดยใส่มุมมองที่เราสนใจลงไปในแกน x และ แกน y

โดยตัวอย่าง Quadrant Matrix ที่ได้รับความนิยมเช่น The Power-Interest Matrix โดยจะแบ่งคนออกเป็น 4 กลุ่ม

Manage Closely

เป็นกลุ่มคนที่สำคัญมากที่สุด เราควรให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมกับคนกลุ่มนี้อย่างเต็มที่ และทำให้คนกลุ่มนี้พึงพอใจมากที่สุด ตัวอย่างเช่น Product Owner

Keep Satisfied

เป็นกลุ่มที่ไม่ได้สนใจ Project มาก แต่มีอิธิพลหรือผลกระทบสูง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้คนกลุ่มนี้พอใจ ตัวอย่างเช่น นักลงทุน

Keep Informed

คนกลุ่มนี้เป็นคนที่สนใจใน Project เรา แต่มีอิธิพลหรือผลกระทบน้อย จึงควรให้ข้อมูลที่เพียงพอ เชิญมามีส่วนร่วมในการวิจัย ออกความเห็น และพูดคุยทำให้มั่นใจว่าไม่มีปัญหาใหญ่ ๆ เกิดขึ้น

Monitor

เป็นคนที่ไม่ได้มีความสำคัญมาก แต่มีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปอยู่ใน Quadrant ในอนาคต เราจึงควรทำแค่สังเกตการ

3. Stakeholder Analysis Table

หลังจากที่เราระบุและประเมิน Stakeholder แล้ว เราจะนำข้อมูลที่ได้จาก  2 ขั้นตอนก่อนหน้ามาใส่ในตารางเพื่อจัดลำดับความสำคัญ และสร้างกลยุธในการวางแผนการมีส่วนร่วม เช่น ถ้า 2 คนมี Issue ที่ชนกัน เราควรให้ความสำคัญ Issue ของใครก่อน หรือเราควรจัดประชุมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน

แต่อย่างไรก็ตามการทำ Stakeholder Analysis มีลักษณะที่เป็น Non-linear Process เราสามารถย้อนกลับไปทำขั้นตอนต่าง ๆ ได้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นข้อมูลที่อัพเดตใหม่อยู่เสมอ

สรุป

  • สามารถจัดกลุ่มและเรียงลำดับความสำคัญ Stakeholders ต่างๆ ที่มีส่งผลกระทบกับ Project ของคุณได้
  • เพื่อทำความเข้าใจว่า Stakeholders มีปัญหา ความสนใจ หรือทัศนคติต่องานคุณอย่างไร
  • สามารถวางแผนหรือกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือปรับปรุงงานของคุณ

อ้างอิง:
https://www.nngroup.com/articles/stakeholder-analysis/
https://www.pmi.org/learning/library/stakeholder-analysis-pivotal-practice-projects-8905
https://www.boreal-is.com/blog/what-is-stakeholder-analysis/


ติดตามบทความเกี่ยวกับการวิจัยและออกแบบได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/unblockdesign
Instagram : https://www.instagram.com/unblockdesign

Tags:#Product Design #UX Research

Author
Writer: Unblock Design

ทีมออกแบบของ Blockfint ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย วางแผน และออกแบบ Digital Products


Interested to be our partner?
Mailbox