10 Usability Heuristics คือหลักการ 10 ข้อ ที่เป็นเทคนิคหนึ่งที่เอาไว้ตรวจสอบงานของดีไซน์ของเราได้ เพื่อหาข้อบกพร่องของการใช้งาน Interactive Design ได้แบบง่าย ๆ
การออกแบบที่ดีควรบอกผู้ใช้เสมอว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น พวกเขาอยู่จุดไหน และกำลังทำอะไรอยู่ เช่น แผนที่ห้าง ที่บอกว่าผู้ใช้อยู่จุดไหนของห้าง หรือแบตเตอรี่มือถือ ที่บอกว่ามือถือเหลือแบตอีกกี่เปอร์เซนต์
เมื่อผู้ใช้รู้สถานะปัจจุบัน ก็จะทำให้พวกเขารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และเมื่อผู้ใช้รู้หรือสามารถคาดเดาเหตุกาณ์ข้างหน้าได้ก็จะทำให้เกิดความเชื่อถือ และไว้วางใจ
Tips
เราควรออกแบบให้ตรงกับความคาดหวังของผู้ใช้ หรือสิ่งที่ผู้ใช้คุ้นเคยอยู่แล้ว เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถเรียนรู้ได้ทันที เช่น ออกแบบหน้าจอเครื่องคิดเลขในมือถือ ให้เหมือนกับเครื่องคิดเลขในโลกจริง
ดังนั้นการออกแบบควรขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ของเราเป็นใคร เป็นคนกลุ่มไหน คำ ข้อความ คอนเซปท์ ไอคอน หรือรูปภาพที่เราเข้าใจอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้ของเราคุ้นเคย และอาจทำให้ผู้ใช้สับสนได้
เมื่อการออกแบบของเราตรงกับโลกความจริง ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และจดจำการทำงานได้ง่าย
Tips
ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องการ ประตูทางออกฉุกเฉิน เพื่อที่จะยกเลิกการกระทำนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมากมาย เช่น มือถือมีปุ่ม Home เพื่อกลับไปหน้าหลักได้ทันที หรือประตูหนีไฟของห้างที่พาเราออกจากห้างได้ทันที
เมื่อผู้ใช้สามารถย้อนกลับหรือแก้ไขอะไรได้ง่าย ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกอิสระ และมั่นใจ
Tips
การออกแบบควรมีความสม่ำเสมอและทิศทางเดียวกันทั้งหมด เช่น ถ้าเราใช้ปุ่มสีน้ำเงิน ก็ควรใช้ปุ่มสีน้ำเงินเหมือนกันหมด การที่เราเปลี่ยนสี อาจทำให้ผู้ใช้สับสน
นอกจากนี้ เราควรออกแบบให้ตรงกับหลักสากล เพราะผู้ใช้จดจำเรียนรู้ และสร้างความคาดหมายจากที่อื่น ๆ มาก่อนใช้ของเรา เช่น แอพอื่น ๆ มักมี Hamburger Menu อยู่มุมด้านบน เราก็ควรวาง Hamburger Menu อยู่มุมด้านบนด้วย เพราะถ้าเราย้ายตำแหน่งไปอยู่มุมด้านล่าง จะทำให้ไม่ตรงกับความคาดหมายของผู้ใช้ และทำให้เกิดความสับสนได้
หรืออีกตัวอย่าง เค้าเตอร์เช็คอินของโรงแรมมักจะอยู่ด้านหน้าเสมอ เราจึงควรออกแบบเค้าเตอร์เช็คอินไว้ด้านหน้าโรงแรมเราด้วยเหมือนกัน เพื่อให้ตรงกับความคาดหมายของลูกค้า
Tips
ป้องกันความผิดพลาดของผู้ใช้ เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น อาจสร้างความเสียหายได้ เราจึงควรออกแบบให้ผู้ใช้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด รวมถึงการยืนยันคำสั่งหรือ การกระทำของผู้ใช้อีกครั้งด้วย Dialogue หรือ Pop Up
ตัวอย่างเช่น ตามจุดโค้งของถนนจะขึ้นป้ายสีเหลืองลูกศรสีดำเสมอ เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวัง หรือ ถ้าเราจะลบอีเมล์ทิ้ง จะมี Dialogue ขึ้นเตือนเพื่อยืนยันคำสั่งว่าเราต้องการจะลบอีเมล์นั้นจริง ๆ
Tips
การช่วยให้ผู้ใช้งานนึกออกง่ายขึ้น รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร? ต้องทำอะไร? ทำให้เกิดการตัดสินใจในจุดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น Recognition Rather Than Recall เข้ามาช่วยในแต่ละจุดเพื่อให้ผู้ใช้งานทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสำเร็จลุล่วง ไม่ว่าจะเป็นส่วนง่าย ๆ อย่างเช่น การกดปุ่ม หรือ เข้าเมนูต่าง ๆ บนเว็บไซต์ ไปจนถึง การทำงานที่ซับซ้อน โดยที่ผู้ใช้งานไม่ควรรู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามในการทำงานมากจนเกินไป
Tip
ความยืดหยุ่นในการใช้งานทำให้การออกแบบสามารถรองรับทั้งผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์และมีประสบการณ์ มีตัวช่วยเหลือและทางลัดเพื่อให้ผู้คนสามารถเลือกวิธีการใดก็ได้ที่เหมาะกับพวกเขา เช่น คำแนะนำในการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานใหม่และปุ่มข้าม (Skip) สำหรับผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์
Tip
อินเทอร์เฟซ (Interface) ไม่ควรมีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีความจำเป็นสำหรับผู้ใช้ เพื่อลดการแข่งขันกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และลดการมองเห็นเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ใช้สามารถบะลุเป้าหมายหลักการทำงานของพวกเขาได้
Tip
ข้อความแสดงข้อผิดพลาดควรระบุปัญหาอย่างแม่นยำ และแนะนำวิธีแก้ปัญหา เช่น การตั้งรหัสผ่านที่มีรูปแบบในการตั้งรหัส ต้องสามารถบอกได้ว่าผู้ใช้จำเป็นต้องกรอกอะไรเพิ่มเติม
Tip
แม้ว่าการออกแบบนั้นควรจะสามารถทำให้ผู้ใช้ง่ายเข้าใจระบบได้อย่างทันทีโดยไม่ต้องอ่านเอกสารอ้างอิง แต่ในบางกรณีอาจเกิดปัญหาทางเทคนิคซึ่งทำให้ผู้ใช้งานเกิดข้อสงสัยดังนั้นควรมีระบบช่วยเหลือและทำเอกสารคู่มือการใช้งานประกอบด้วยเป็นส่วนเสริม
Tip
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.nngroup.com/articles/ten-usability-heuristics/
ติดตามบทความเกี่ยวกับการวิจัยและออกแบบได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/unblockdesign
Instagram : https://www.instagram.com/unblockdesign
ทีมออกแบบของ Blockfint ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย วางแผน และออกแบบ Digital Products