5 คนเพียงพอหรือยัง? สำหรับการทำ Usability Testing

clock
11 March 2022

Usability Test ควรมีจำนวนคนเข้าร่วม (Participant) เท่าใด

Usability Test หรือ การทดสอบความยากง่ายในการใช้งานของระบบ คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการทำงานด้านการออกแบบ User Experience เพื่อให้ระบบที่ออกแบบขึ้นง่ายต่อการใช้งาน ดังนี้ด้วยความสำคัญดังกล่าว ส่งผลให้ Usability Testing ควรถูกทำวิจัยขึ้นอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรงและได้ผลประโยชน์สูงสุด เป็นที่แน่นอนว่าในการทำวิจัยด้าน Usability ประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเป็นอย่างมาก เช่น กระบวนการทำงาน วิธีที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล หรือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ จำนวนคนที่เข้าร่วมทำ Usability Testing ด้วยสาเหตุนี้จึงเกิดคำถามสำคัญขึ้นว่า จำนวนคนเท่าใดถึงเหมาะสมกับ Usability Testing ดังนี้ในบทความนี้จะวิเคราะห์ถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงแนวคิดต่าง ๆ ด้านจำนวนคนที่เหมาะสมต่อการทำ Usability Testing

จำนวน 5 - 7 คน ดีพอหรือไม่สำหรับ Usability Testing

5 - 7 คนคือตัวเลขที่เหมาะสมสำหรับการทำ Usability Testing

ประโยคดังกล่าวมักได้ยินกันบ่อยครั้งระหว่างการทำ Usability Testing และเป็นที่ชัดเจนว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำมาวิเคราะห์และพิสูจน์กันเป็นอย่างมาก โดยหากจากข้อมูลเชิงสถิติดังในภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย (Participants) ส่งผลให้ค้นพบปัญหาด้าน Usability เพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อเพิ่มถึงจำนวนหนึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นของปัญหาที่ค้นพบกลับน้อยลง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย Usability Testing ในช่วงแรกที่ระยะ 1 ถึง 7 คน การพบเจอปัญหาด้าน Usabililty มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยอยู่ที่ระดับมากกว่า 7 คนขึ้นไปจะสังเกตเห็นได้ว่าจำนวนปัญหาด้าน Usability ที่พบกลับเพิ่มขึ้นในจำนวนที่ต่ำมาก หากดูจากผลลัพธ์สถิติดังกล่าวสามารถได้อย่างชัดเจนว่า การทำ Usability Test จำนวน 5 - 7 คนนั้นเป็นที่ยอมรับได้และเพียงพอต่อการทำงานโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามนั้นหากวิเคราะห์ต่อออกไปกลับพบมุมมองสำคัญดังนี้

กราฟแสดงแนวโน้มจำนวนเปอร์เซ็นของปัญหาที่พบกับจำนวนผู้เข้าร่วมการทดสอบ (ที่มา: NNGroup)

จากงานวิจัยด้าน Usability Testing ครั้งหนึ่ง ทางทีมวิจัยได้จัดทำ Usability Testing ขึ้นเพื่อทดสอบความยากง่ายในการใช้งาน (Usability) ของระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในทีมงานขนาดเล็ก โดยการทำ Usability ครั้งนี้ได้ใช้จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 7 คน ตามแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น ผ่านข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี Think Aloud และข้อมูลเชิงปริมาณที่ประกอบไปด้วย 2 วิธี Customer Effort Score และ System Usability Scale

หลังจากทำวิจัยเสร็จสิ้นจึงได้รับผลลัพธ์ออกมาเป็นปัญหาต่าง ๆ ด้าน Usability ทางทีมวิจัยจึงได้นำปัญหาด้าน Usability เหล่านั้นมาแก้ไขตามคำแนะนำจากข้อมูลเชิงคุณภาพ เมื่อวิเคราะห์โดยพื้นฐานจากสถานการณ์ดังกล่าว  หากทำ Usabiliity Test อีกรอบ ระบบที่แก้ไขควรมีปัญหาด้าน Usability ที่น้อยลง และมีคะแนนจากข้อมูลเชิงคุณภาพจาก Customer Effort Score และ System Usability Scale เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกันหลังจากที่ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้าน Usability และนำระบบดังกล่าวไปวิจัย Usability Testing อีกหนึ่งรอบ กลับพบว่าข้อมูลเชิงปริมาณจากคะแนน Customer Effort Score และ System Usabilty Scale ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ คะแนนที่ได้รับไม่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาด้าน Usability อย่างชัดเจน สาเหตุนี้จึงคำถามสำคัญต่อมุมมองด้านจำนวนผู้เข้าร่วามวิจัยขึ้นดังนี้ “จำนวน 5 - 7 คนเพียงพอสำหรับการทดสอบด้าน Usability Testing จริงหรือไม่”

สืบเนื่องจากงานวิจัยของ NNGroup ที่อธิบายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคนกับปัญหาด้าน Usability ที่พบเจอ จากการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคนเข้าร่วมวิจัย Usability Testing สอดคล้องและแปรผันตามในเชิงบวกกับจำนวนปัญหาด้าน Usability ที่พบเจอ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หากเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย Usability Testing จะสามารถพบเจอปัญหาด้าน Usability ได้เพิ่มมากขึ้นดังที่แสดงในภาพด้านล่าง

กราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณปัญหาที่พบกับจำนวนผู้เข้าร่วมทดสอบ (ที่มา: NNGroup)

เมื่อมองจากข้อมูลสถิติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยนับเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงปัญหาด้าน Usability ได้เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับมีจำนวนไม่สูง ซึ่งมีความหมายดังนี้ ถึงแม้จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย Usability Testing จะเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาด้าน Usability ที่พบเจอกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราสูงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยที่เพิ่มขึ้น

ด้วยสาเหตุดังกล่าวการเลือกใช้จำนวน 5 - 7 คนจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเชิงสถิติและสอดคล้องกับภาพรวมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและ Return of Investment (ROI) ในบริบทหนึ่ง ๆ เนื่องจากในหลายครั้ง การทำ Usability Testing จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามนั้นจำนวน 5 - 7 คนดังกล่าวอาจจะสะท้อนได้ถึงเพียงจำนวนของปัญหาด้าน Usability ที่พบเจอเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถบ่งชี้ถึงปัจจัยด้านคุณภาพอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับการวางกลยุทธ์ด้าน User Experience (UX Strategy) เช่น “ระดับความสำคัญของปัญหาด้าน Usability ที่พบเจอ” “ระดับการกระจายตัวของปัญหาด้าน Usability ที่เกิดขึ้น” “ระดับคุณภาพของคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาด้าน Usability ที่ได้รับ” “ระดับคุณภาพด้าน Usability ผ่านข้อมูลเชิงปริมาณ” เป็นต้น

บทส่งท้าย

จากบทวิเคราะห์ข้างต้น ดังนี้จำนวน 5 - 7 คนจึงนับเป็นจำนวนที่เหมาะสมสำหรับการทำ Usability Testing หากมองเพียงแค่จำนวนปัญหาที่พบอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และปัจจัยต่าง ๆ ของผลลัพธ์จาก Usability Testing ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อนำมาวางแผนและวางกลยุทธ์ด้าน User Experience  (UX Strategy) และการบริหารจัดการทรัพยากร ในภายภาคหน้า ดังนี้ในบทความถัดไป ทาง Unblock Design จะวิเคราะห์ถึงการทำวิจัยด้าน Usability ที่สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพและการแพร่กระจายของผลลัพธ์จาก Usability Testing เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานด้าน User Experience ให้สูงที่สุดในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ

อ้างอิง
https://www.nngroup.com/articles/5-test-users-qual-quant/
https://www.nngroup.com/articles/why-you-only-need-to-test-with-5-users/
https://www.nngroup.com/articles/how-many-test-users/


ติดตามบทความเกี่ยวกับการวิจัยและออกแบบได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/unblockdesign
Instagram : https://www.instagram.com/unblockdesign

Tags:#Product Design #UX Research #User Experience #Usability Testing

Author
Writer: Unblock Design

ทีมออกแบบของ Blockfint ที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย วางแผน และออกแบบ Digital Products


สนใจร่วมธุรกิจกับเรา?
Mailbox